วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เรื่องของโครงงาน


ชื่อบทความภาษาไทย      การประเมินโครงการพัฒนาความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของ
ผู้เรียน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดชุมพร
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ An  Evaluation  of  the  Project  “Developing   learners’  ability  of  Science 
             Project in  Chumphon  Vocational  Colleges
ชื่อเจ้าของบทความ         นางวนิดา  เกื้อกูล
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก      รศ.ดร.สมคิด   พรมจุ้ย
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม        อาจารย์ ดร.เพชรผ่อง   มยูรโชติ
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์      แขนงวิชา การวัดและประเมินผลการศึกษา    วิชาเอก  การประเมินการศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ(ภาษาไทย)

บทความนี้เป็นบทความเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนาความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของผู้เรียน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดชุมพร  ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้น   กระบวนการดำเนินงาน   ผลผลิตและผลกระทบของโครงการ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารของสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชุมพร (6 สถานศึกษา) จำนวน 24 คน  ครูผู้สอน จำนวน  17  คน ซึ่งใช้ประชากรทั้งหมดในการเก็บข้อมูล   นักเรียน นักศึกษา ที่ร่วมโครงการ จำนวน 1,350 คน   แยกเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จำนวน 1,018 คน  นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จำนวน 332 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของยามาเน ณ ระดับความเชื่อมั่น 99% ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 474 คน   ผู้ประเมินจึงกำหนดขนาดตัวอย่างที่ต้องการเก็บข้อมูลเท่ากับ 500 คน และสุ่มตัวอย่างนักเรียนในแต่ละห้องเรียนโดยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น (แยกตามสถานศึกษา) ให้ได้จำนวนนักเรียนทั้งหมด 500 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้  เป็นเครื่องมือที่ผู้ประเมินสร้างขึ้นเอง  มีจำนวน  3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นและความพึงพอใจของ ผู้บริหาร ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์  ครูและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการพัฒนาความสามารถในการทำโครงงาน วิทยาศาสตร์ เป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า (Rating  Scale)  5 ระดับ  ฉบับที่ เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้เรียน  ที่มีต่อโครงการพัฒนาความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า (Rating  Scale)  5 ฉบับที่ เป็นแบบบันทึกข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ฯ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่  ความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา 
ผลการวิจัยพบว่า
1.             ผลการวิจัยด้านความเหมาะสมและเพียงพอของปัจจัยเบื้องต้น ประกอบด้วย ปัจจัยด้านบุคลากร
งบประมาณ   สื่อ วัสดุ อุปกรณ์  และสิ่งอำนวยความสะดวก  พบว่าโดยภาพรวมปัจจัยเบื้องต้นมีความเพียงพอและเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง
2.   ผลการวิจัยด้านความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงาน ประกอบด้วย การวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ    การดำเนินงานตามโครงการ   การประเมินผลการดำเนินงาน  ปัญหาและอุปสรรค โดยภาพรวมพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง
3.  ผลการวิจัยด้านผลผลิต พบว่า นักเรียน นักศึกษา จำนวนร้อยละ 70  มีคะแนนทดสอบความรู้ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 13  ทักษะผ่านเกณฑ์ที่กำหนด    นักเรียน นักศึกษา    จำนวนร้อยละ 68  มีคะแนนความสามารถในการทำผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด  นักเรียน นักศึกษา มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก  ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก   ผลกระทบ ได้แก่  ผลที่เกิดกับสถานศึกษาเป็นผลกระทบที่ดี  ข้อเสนอแนะ ผลที่เกิดกับนักเรียน  นักศึกษา  คือ นักเรียน นักศึกษา จำนวนร้อยละ 92 มีความภาคภูมิใจที่ตนเองที่มีความสามารถในการสร้างผลงานสิ่งประดิษฐ์ได้    มีการพัฒนาต่อยอดผลงานน้อย

คำสำคัญ   โครงงานวิทยาศาสตร์     ความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์   ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
บทนำ  ในปัจจุบันสังคมมีความเจริญเติบโตทางด้านเทคโนโลยีอย่างมากมาย เนื่องจากมีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ทั้งนวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์  นวัตกรรมทางด้านธุรกิจและนวัตกรรมทางด้านการจัดการ  นวัตกรรมดังกล่าวจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรมใหม่ ๆ   มีผลให้ภาคอุตสาหกรรมเจริญขึ้นมาก การผลิตสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นมากมาย  สินค้าและบริการเหล่านี้ต้องมีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอเพื่อความทันสมัยและความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ ทำให้ประเทศนั้น ๆ มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อันจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรม  ตลอดจนภาคอุตสาหกรรมได้ องค์กรธุรกิจต่าง ๆ จึงต้องมีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นเพื่อพัฒนาปรับปรุงสินค้าและบริการของตนเองให้ทันสมัยตลอดเวลา
ประเทศชาติใดจะสามารถคิดค้นนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ  เพื่อพัฒนาสินค้าและ
บริการของตนได้นั้น ประชาชนของประเทศนั้นต้องมีการศึกษา มีคุณภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ในด้านการประดิษฐ์คิดค้น  รัฐบาลก็ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวเช่นกัน  ดังจะเห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10  (สรุปสาระสำคัญ,  ม.ป.ป. : ษ)  ที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์ประเทศ ด้านการพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ในข้อ 50.1(1) ดังนี้ “การพัฒนาคนให้มีคุณธรรมนำความรู้ เกิดภูมิคุ้มกัน.................... สร้างและพัฒนาคนที่เป็นเลิศ โดยเฉพาะในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและองค์ความรู้ ส่งเสริมให้คนไทยเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จัดการองค์ความรู้ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้สมัยใหม่ตั้งแต่ระดับชุมชนถึงประเทศ สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม” การสร้างกำลังคนที่มีคุณภาพ มีความรู้ มีความคิดสร้างสรรค์และมีคุณธรรมได้นั้น ก็ต้องปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อพัฒนาให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ เพื่อเป็นแรงผลักดันให้สังคม และประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองต่อไป
ดังนั้น ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542  จึงได้บัญญัติแนวทางการศึกษาไว้ในมาตราต่าง ๆ ดังนี้ มาตรา 23 (2) บัญญัติเกี่ยวกับความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน  มาตรา 24 บัญญัติเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ กระบวนการคิด  การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ ให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน เกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องและให้มีการจัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้ สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา   การที่จะปลูกฝังให้เยาวชนเป็นคนที่มีคุณภาพดังกล่าว ก็โดยให้การศึกษาที่มุ่งเน้นในด้านการพัฒนากระบวนการคิด  รูปแบบการสอนที่พัฒนาการคิดรูปแบบหนึ่งคือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้นำมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์
เพื่อพัฒนากระบวนการคิด ดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจึงได้กำหนด
วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10   และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542    โดยได้กำหนดพันธกิจไว้ 3 ข้อ โดยเฉพาะในพันธกิจข้อที่ 3 ที่ว่า  “วิจัย ประดิษฐ์คิดค้น สร้างนวัตกรรม เทคโนโลยี และพัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาอาชีพ” ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษามีขีดความสามารถในด้านการวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้น และเพื่อเป็นการผลักดันให้พันธกิจในข้อดังกล่าวบรรลุเป้าหมายนั้น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ข้อที่ 6 ไว้ว่า “สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี”  ประกอบด้วยกลยุทธ์ 4 ข้อ ดังนี้ คือ (1) ส่งเสริมพัฒนาการวิจัย สร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และการวิจัยเชิงนโยบาย การวิจัยเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ (2) ส่งเสริมการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปใช้พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการและการเรียนการสอน  (3) ส่งเสริมให้นำความรู้ เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมไปใช้พัฒนาอาชีพ  จดสิทธิบัตรและพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์  (4) พัฒนาระบบบริหารจัดการ  เครือข่ายงานวิจัยและการจัดการความรู้อาชีวศึกษา ทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ   กำหนดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์  เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ได้เรียนรู้เนื้อหาโครงงานวิทยาศาสตร์ ซึ่งเน้นการเรียนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ให้นักเรียน นักศึกษา นำความรู้มาประยุกต์ในการประดิษฐ์คิดค้น  ทดลอง และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ โดย นักเรียนคิด นักเรียนทำ  มีครูอาจารย์เป็นที่ปรึกษา
เพื่อตอบสนองนโยบายการผลิตนักเรียน นักศึกษา สามารถประดิษฐ์คิดค้น  ทดลอง และมี
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ดังกล่าว อาชีวศึกษาจังหวัดชุมพร จึงได้กำหนดเป้าหมาย และพันธกิจของอาชีวศึกษา ดังนี้คือ “วิจัย ประดิษฐ์คิดค้น สร้างนวัตกรรม เทคโนโลยี และพัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาอาชีพ”  และสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดชุมพรได้ร่วมกันจัดทำแผนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์  เป้าหมาย  และ พันธกิจ ไว้ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอาชีวศึกษา  คือ  “โครงการพัฒนาความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของผู้เรียน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดชุมพร”                โครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์  (1)  เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ให้นักเรียน นักศึกษานำความรู้และทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ (2) เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น โดยใช้กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นฐาน (Science Project base Learning)    (3) เพื่อส่งเสริมการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์จากโครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับสถานศึกษา และระดับอาชีวศึกษา   สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดชุมพรทุกแห่ง ได้ดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว เพื่อพัฒนาผู้เรียนของอาชีวศึกษาจังหวัดชุมพรให้มีศักยภาพในการคิด การสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพสามารถนำผลงานเข้าร่วมประกวดในระดับสถานศึกษา ระดับภาคและระดับชาติได้ตามเป้าหมาย  แต่จากการดำเนินงานที่ผ่านมาปรากฏว่า ผลงานที่ชนะเลิศการประกวดในระดับภาคและระดับชาตินั้น ส่วนใหญ่เป็นผลงานจากวิทยาลัยเทคนิคชุมพร ส่วนสถานศึกษาอื่น ๆ ในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดชุมพร มีผลงานที่ชนะเลิศการประกวดน้อยมากหรือสถานศึกษาบางแห่ง ไม่ส่งผลงานเข้าประกวด เนื่องจากไม่มั่นใจในคุณภาพของผลงาน
จากการสอบถามครูผู้สอนโครงงานวิทยาศาสตร์ ในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัด
ชุมพรบางแห่ง ถึงสาเหตุของการไม่ส่งผลงานเข้าประกวด ผู้วิจัยได้รับทราบสาเหตุว่าผลงานที่นักเรียน นักศึกษาจัดทำขึ้นนั้น มีคุณภาพไม่เพียงพอที่จะนำเข้าประกวด หรือบางครั้งครูพิจารณาเห็นว่า นักเรียน นักศึกษา ไม่มีศักยภาพในการคิดสร้างสรรค์ผลงานด้วยตัวเองได้  ครูจึงเป็นผู้คิดประดิษฐ์ผลงานเองแล้วนำส่งเข้าประกวดในนามของนักศึกษา เพื่อให้ทันเวลากับช่วงระยะเวลาที่จัดประกวดในแต่ละระดับ และจากการที่ยังไม่มีหน่วยงานหรือสถานศึกษาใดทำการประเมิน โครงการพัฒนาความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของผู้เรียน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดชุมพร และจากการได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาในการจัดทำผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ของ นักเรียน นักศึกษา  ของสถานศึกษาบางแห่ง ที่ไม่ส่งผลงานเข้าประกวด หรือไม่เคยได้รับรางวัลจากการประกวดดังกล่าวข้างต้น และเพื่อต้องการทราบว่าในการดำเนินกิจกรรมการเรียน การสอน ในเรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์ ในแต่ละสถานศึกษานั้น มีการปลูกฝังให้นักเรียน นักศึกษา มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือไม่ มีการกระตุ้นให้มีการทดลองทำผลงานด้วยความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียน นักศึกษาเองหรือไม่ ปัจจัยเบื้องต้นในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน การทดลองทำผลงานเพียงพอหรือไม่  ผู้วิจัยจึงได้ทำการประเมินโครงการนี้ โดยประเมินตั้งแต่ปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ กระบวนการดำเนินโครงการ  ผลผลิตและผลกระทบของโครงการ เพื่อสรุปว่าโครงการนี้ บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนหรือไม่ ผลกระทบของโครงการส่งผลต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด และผลการประเมินจะทำให้ได้แนวทางในการพัฒนาโครงการดังกล่าวต่อไป
วัตถุประสงค์ของการประเมิน
1.  เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ
2.   เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการ
3.   เพื่อประเมินผลผลิตและผลกระทบของโครงการ
วิธีดำเนินการวิจัย
                การประเมินโครงการพัฒนาความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของผู้เรียน ใน
สถานศึกษาสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดชุมพร มีวิธีดำเนินการวิจัยดังนี้
1.             ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง   ได้แก่
1.1   แหล่งข้อมูลที่เป็นผู้บริหาร   จำนวน 24 คน  ครูผู้สอน จำนวน  17  คน     นักศึกษาระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จำนวน  322 คน  ใช้ประชากรทั้งหมดในการศึกษาครั้งนี้
                    1.2  แหล่งข้อมูลที่เป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของยามาเน ณ ระดับความเชื่อมั่น 99%  ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 474 คน   ผู้ประเมินจึงกำหนดขนาดตัวอย่างที่ต้องการเก็บข้อมูลเท่ากับ 500 คน และสุ่มตัวอย่างนักเรียนในแต่ละห้องเรียนโดยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น (แยกตามสถานศึกษา) ให้ได้จำนวนนักเรียนทั้งหมด 500 คน
2.  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย    เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้  เป็นเครื่องมือที่ผู้ประเมินสร้าง
ขึ้นเอง  มีจำนวน  3 ฉบับ คือ
ฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นและความพึงพอใจของ ผู้บริหาร ครูผู้สอนวิชา
วิทยาศาสตร์ ครูและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการ
ฉบับที่ 2 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อโครงการ
โดยแบบสอบถามทั้ง  2 ฉบับ แบ่งเป็น 3 ตอน คือ
                                                ตอนที่ 1    สอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2    สอบถามความคิดเห็นมีต่อโครงการฯ
ตอนที่ 3    สอบถามความพึงพอใจที่มีต่อโครงการฯ
                             ฉบับที่ 3   เป็นแบบบันทึกข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาความสามารถใน
การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ฯ 
การเก็บรวบรวมข้อมูล
                เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถามและแบบบันทึกข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล
                ข้อมูลเชิงปริมาณ  ใช้วิธีการแจกแจงความถี่  หาค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ()  และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (S.D.)    ข้อมูลเชิงคุณภาพ นำมาวิเคราะห์เนื้อหา
สรุปผลการวิจัยและอภิปรายผล
สรุปผลและอภิปรายผล
1.              ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ด้านความเหมาะสมและเพียงพอของบุคลากร
อยู่ในระดับดี  ความเหมาะสมเพียงพอของงบประมาณอยู่ในระดับปานกลาง   ความเหมาะสม เพียงพอสื่อ วัสดุ อุปกรณ์  อยู่ในระดับปานกลาง และความเหมาะสมเพียงพอสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับปานกลาง สรูปโดยภาพรวมปัจจัยเบื้องต้นมีความเพียงพอและเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง
        2.   ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการ พบว่า
 2.1   ผลการประเมินด้านการวางแผนการดำเนินงาน   ได้แก่   มีการเขียนโครงการเพื่อ
ปฏิบัติงานอยู่ในระดับดี     มีการประชุมวางแผนการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปรับปรุง    การประชาสัมพันธ์โครงการอยู่ในระดับปานกลาง
2.2       ผลการประเมินด้านการดำเนินงานตามโครงการ
 2.2.1  ผลการประเมินด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่  ผลการ
ประเมินการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในเรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี    ผลการประเมินด้านการจัดกิจกรรมการเรียน การสอน โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี    ผลการประเมินการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในเรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี  
   2.2.2  ผลการประเมินการจัดกิจกรรมการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ได้แก่
 ผลการประเมินด้านการวางแผนการจัดประกวดอยู่ในระดับมาก  ผลการประเมินด้านการดำเนินกิจกรรมตามแผนที่วางไว้อยู่ในระดับปานกลาง 
         2.3  ผลการประเมินด้านผลการดำเนินงาน ได้แก่   ผลการประเมินด้านการวัดผล ประเมินผล
การจัดการเรียนการสอน   อยู่ในระดับดี และผลการประเมินด้านผลการจัดประกวดผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ ทั้ง 2 ระดับ อยู่ในระดับดี
         2.4.  ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง
                  3.   เพื่อประเมินผลผลิตและผลกระทบของโครงการ

          1.3  ผลการวิจัยด้านผลผลิต พบว่า   
   1.3.1 นักเรียน นักศึกษา จำนวนร้อยละ 65   มีคะแนนทดสอบความรู้ด้านทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 13 ทักษะผ่านเกณฑ์ที่กำหนด   ซึ่งเป็นจำนวนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้  แสดงว่าครูได้ใช้วิธีสอนตามทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  
    1.3.2  นักเรียน นักศึกษา    จำนวนร้อยละ 66  มีคะแนนความสามารถในการทำผลงาน
โครงงานวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด  อาจเนื่องมาจากครูได้ให้นักเรียน ทดลองทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ทำให้นักเรียน นักศึกษา มีประสบการณ์สามารถประยุกต์ความรู้มาทำโครงงานวิทยาศาสตร์ได้
    1.3.3  นักเรียน นักศึกษา จำนวนร้อยละ 62  มีคะแนนประเมินคุณภาพผลงาน
โครงงานวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด  เป็นผลมาจากข้อ (1) และ ข้อ (2) ที่ทำให้นักเรียน นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ สามารถประยุกต์ความรู้มาทำผลงานได้ รวมทั้งมีการทดลองทำผลงาน.
     1.3.4  นักเรียน นักศึกษา มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก
                                จากผลการวิจัยทั้ง  4 ข้อ ข้างต้น แสดงให้เห็นว่านักเรียน นักศึกษา ที่ได้รับการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ตามทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ จะมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ที่ดี  สอดคล้องกับงานวิจัยของ สุรางค์  ตระกูลราษฎร์ (2547 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ 3 ด้าน คือ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์กับการสอนแบบปกติ  ผลการศึกษาวิจัยพบว่า (1) ผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์  มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์   ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการที่นักเรียน นักศึกษา ที่เรียนโครงงานวิทยาศาสตร์สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้  เนื่องจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์    เป็นวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ที่ทำให้นักเรียน นักศึกษา  เกิดความคิดสร้างสรรค์ผลงานได้ สอดคล้องกับงานวิจัยของ สุภาพร  เสียงเรืองแสง  (2540 : 103 - 106) ซึ่งพบว่า  ในการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเป็นการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งเป็นวิธีสอนที่เอื้อต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทาง วิทยาศาสตร์ที่สามารถนำไปใช้ในการทำผลงานได้
                                   1.3.4   ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ พบว่า ผู้บริหารมีความ
พึงพอใจต่อกิจกรรมการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก               
         1.4  เพื่อประเมินผลกระทบ ได้แก่
   1.4.1  ผลที่เกิดกับสถานศึกษาในทางบวก คือ สถานศึกษามีผลงานจากการประดิษฐ์คิดค้นของนักเรียน นักศึกษา ที่มีคุณภาพหลายชิ้น ซึ่งมีผลต่อการประเมินประกันคุณภาพการศึกษา ทำให้ผลการประเมินอยู่ในระดับดี    ผลกระทบในทางลบคือ งบประมาณที่นำมาใช้ในการทำผลงานของนักเรียน นักศึกษาไม่เพียงพอ  ทำให้ครูผู้สอนและนักเรียน นักศึกษา เกิดความท้อถอยได้
                  1.4.2 ผลที่เกิดกับนักเรียน  นักศึกษา  ในทางบวก คือ นักเรียน นักศึกษา มีความภาคภูมิใจที่ตนเองที่มีความสามารถในการสร้างผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ได้    ทางลบคือ นักเรียน นักศึกษาต้องใช้เวลาในวันหยุด หรือนอกเวลาเรียนมาทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ทำให้มีเวลาในการทบทวนตำราเรียนน้อยลงและต้องกลับบ้านล่าช้ากว่าปกติ
      1.4.3  การพัฒนาต่อยอดผลงานยังมีน้อย  เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการ
อาชีวศึกษายังไม่มีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง